หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

กระบวนการและขั้นตอนการประเมินสมรรถนะ : การวิเคราะห์คะแนน

           การวิเคราะห์คะแนนจากแบบประเมินสมรรถนะ ใช้เอกสารผลการประเมินสมรรถนะที่จำเป็นต้องพัฒนาจากแบบประเมิน  ตามรายละเอียดดังนี้
          1) นำผลคะแนนจากแบบประเมินตนเอง ใส่ในช่อง “ประเมินโดยตนเอง”
          2) นำผลคะแนนจากแบบประเมินโดยผู้บังคับบัญชา ใส่ในช่อง “ประเมินโดยผู้บังคับบัญชา”
          3) นำผลคะแนนจากแบบประเมินโดยเพื่อนร่วมงาน ใส่ในช่อง “ประเมินโดยเพื่อนร่วมงาน”
          4) นำผลคะแนนจากแบบประเมินโดยผู้รับบริการ ใส่ในช่อง “ประเมินโดยผู้รับบริการ” เฉพาะสมรรถนะหลัก หัวข้อ การบริการที่ดี และการทำงานเป็นทีม
          5) การลงคะแนนในช่อง “สรุป” ให้พิจารณาเฉพาะคะแนนในข้อ 2 และ 3 ยกเว้นสมรรถนะหลัก เฉพาะสมรรถนะหลัก หัวข้อ การบริการที่ดี และการทำงานเป็นทีม ให้พิจารณาคะแนนในข้อ 2 3 และ 4 

    1.วิธีการวิเคราะห์คะแนน

          1.1 กรณีไม่มีผู้รับบริการเป็นผู้ประเมิน
                1) หากผู้ประเมิน 2 คน มีความเห็นไม่สอดคล้องกัน ได้แก่ คนใดคนหนึ่งให้ 1 หรือ 2 อีกคนหนึ่งให้ 3 4 หรือ 5
                   วิธีการ  ให้ผู้ประเมินทั้ง 2 คน คุยกันเพื่อลงความเห็นร่วมกันให้เป็นเอกฉันท์ว่าในรายการนั้น ควรให้ระดับคุณภาพใด หรือ ให้นำผลคะแนนไปเปรียบเทียบผลการประเมินของตนเอง ถ้าความเห็นของผู้ประเมินคนใดสอดคล้องหรือใกล้เคียงกันให้ใช้ระดับคุณภาพของคนนั้น เป็นข้อสรุป  เช่น

ที่
รายการประเมิน
ประเมินโดยตนเอง
ประเมินโดย
สรุป
ผู้บังคับบัญชา
ฉบับที่ 1
เพื่อนร่วม
ฉบับที่ 2
ผู้รับบริการ
ฉบับที่ 3

1
สมรรถนะหลัก
การมุ่งผลสัมฤทธิ์

3

2

4



4

 2) หากผู้ประเมิน 2 คน มีความเห็นสอดคล้องกัน หรือใกล้เคียงกัน เช่น
                   คนที่ 1 ให้คะแนน 1                คนที่ 2 ให้คะแนน 2  หรือ
                   คนที่ 1 ให้คะแนน 3                คนที่ 2 ให้คะแนน 4  หรือ
                   คนที่ 1 ให้คะแนน 4                คนที่ 2 ให้คะแนน 5

                   วิธีการ  ให้หาค่าเฉลี่ยของทั้งสองคนเพื่อลงข้อสรุป เช่น 
ที่
รายการประเมิน
ประเมินโดยตนเอง
ประเมินโดย
สรุป
ผู้บังคับบัญชา
ฉบับที่ 1
เพื่อนร่วม
ฉบับที่ 2
ผู้รับบริการ
ฉบับที่ 3

1
สมรรถนะหลัก
การมุ่งผลสัมฤทธิ์

3

4

5



5

                3) หากผู้ประเมิน 2 คน มีความเห็นเหมือนกัน เช่น ทั้งสองคนให้ 3 เหมือนกัน หรือให้ 4 เหมือนกัน
                   วิธีการ  ให้ใช้ผลการประเมินของคนใดคนหนึ่งเป็นข้อสรุปได้เลย เช่น
ที่
รายการประเมิน
ประเมินโดยตนเอง
ประเมินโดย
สรุป
ผู้บังคับบัญชา
ฉบับที่ 1
เพื่อนร่วม
ฉบับที่ 2
ผู้รับบริการ
ฉบับที่ 3

1
สมรรถนะหลัก
การมุ่งผลสัมฤทธิ์

3

2

2



2

                 4) หากมีผู้ประเมินคนใดคนหนึ่ง ประเมินให้ “ม” หรือระดับ 0 อีกคนให้ 1,2,3,4,5
                   วิธีการ ให้ใช้ผลการประเมินของคนที่ระบุคะแนนลงในข้อสรุป เช่น
ที่
รายการประเมิน
ประเมินโดยตนเอง
ประเมินโดย
สรุป
ผู้บังคับบัญชา
ฉบับที่ 1
เพื่อนร่วม
ฉบับที่ 2
ผู้รับบริการ
ฉบับที่ 3

1
สมรรถนะหลัก
การมุ่งผลสัมฤทธิ์

3

3

ม/0



3
                  
    5) หากผู้ประเมินทั้ง 2 คน ให้ “ม” เหมือนกัน หรือให้ระดับ 0 ทั้ง 2 คน
                   วิธีการ  ให้หาผู้ประเมินใหม่ทั้ง 2 คน หรือให้ใช้ผลการประเมินของตนเองเป็นข้อสรุป เช่น
ที่
รายการประเมิน
ประเมินโดยตนเอง
ประเมินโดย
สรุป
ผู้บังคับบัญชา
ฉบับที่ 1
เพื่อนร่วม
ฉบับที่ 2
ผู้รับบริการ
ฉบับที่ 3

1
สมรรถนะหลัก
การมุ่งผลสัมฤทธิ์

3

ม/0

ม/0



3



          1.2 กรณีผู้รับบริการเป็นผู้ประเมิน
                   1) หากผู้ประเมิน 2 ใน 3 คน ให้คะแนนเท่ากัน ให้ใช้คะแนนนั้นเป็นข้อสรุป เช่น
ที่
รายการประเมิน
ประเมินโดยตนเอง
ประเมินโดย
สรุป
ผู้บังคับบัญชา
ฉบับที่ 1
เพื่อนร่วม
ฉบับที่ 2
ผู้รับบริการ
ฉบับที่ 3

1
สมรรถนะหลัก
การมุ่งผลสัมฤทธิ์

3

4

5



5
2
การบริการที่ดี
4
3
2
3
3
                    
                   2) หากผู้ประเมิน 3 คน ให้คะแนนเท่ากัน ให้ใช้คะแนนนั้นเป็นข้อสรุป เช่น
ที่
รายการประเมิน
ประเมินโดยตนเอง
ประเมินโดย
สรุป
ผู้บังคับบัญชา
ฉบับที่ 1
เพื่อนร่วม
ฉบับที่ 2
ผู้รับบริการ
ฉบับที่ 3

1
สมรรถนะหลัก
การมุ่งผลสัมฤทธิ์

3

4

5



5
2
การบริการที่ดี
4
2
2
2
2
                  
                   3) หากผู้ประเมิน 3 คน ให้คะแนนไม่ตรงกันทั้ง 3 คน ให้หาค่าเฉลี่ยเป็นข้อสรุป เช่น
ที่
รายการประเมิน
ประเมินโดยตนเอง
ประเมินโดย
สรุป
ผู้บังคับบัญชา
ฉบับที่ 1
เพื่อนร่วม
ฉบับที่ 2
ผู้รับบริการ
ฉบับที่ 3

1
สมรรถนะหลัก
การมุ่งผลสัมฤทธิ์

3

4

5



5
2
การบริการที่ดี
4
2
3
4
4



วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กระบวนการและขั้นตอนการประเมินสมรรถนะ : ระดับคุณภาพของแบบประเมิน
           



วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กระบวนการและขั้นตอนการประเมินสมรรถนะ : ผู้ประเมินและแบบประเมินที่ใช้


การจัดทำ IDP ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ได้กำหนดกระบวนการและขั้นตอนในการประเมินสมรรถนะ ดังนี้
1.ตนเองประเมินตนเอง โดยใช้แบบประเมินตนเอง  จำนวน 1 ฉบับ
2.ผู้บังคับบัญชา (ผอ.สพป.สป 2 หรือรองผอ.สพป.สป 2 ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลกลุ่มนั้นๆ) โดยใช้แบบประเมินโดยผู้บังคับบัญชา  จำนวน 1 ฉบับ
3.เพื่อนร่วมงาน ได้แก่ ผู้อำนวยการกลุ่ม  และเพื่อนร่วมงานในกลุ่มของตน  โดยใช้แบบประเมินโดยเพื่อนร่วมงาน จำนวน 2 ฉบับ
4.ผู้รับบริการ  ได้แก่ เพื่อนร่วมงานในกลุ่มอื่นๆ ที่เคยมารับบริการจากท่าน หรือผู้บริหารโรงเรียน  ครู ที่มารับบริการจากท่าน  โดยใช้แบบประเมินโดยผู้รับบริการ จำนวน 1 ฉบับ

โดยสรุปเป็นแผนภาพในการประเมินได้ดังนี้

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


สมรรถนะที่ต้องประเมิน

          การจัดทำ IDP ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 จะอิงกับการประเมินสมรรถนะประจำตำแหน่ง และสายงานตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดไว้ โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต  2 ได้นำมาปรับใช้สำหรับการประเมินเพื่อจัดทำ IDP ดังนี้
            1.กำหนดให้ทุกตำแหน่งประเมินสมรรถนะหลัก จำนวน 5 สมรรถนะ ประกอบด้วย การมุ่งผลสัมฤทธิ์  การบริการที่ดี  การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ  การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม  และการทำงานเป็นทีม
            2.กำหนดให้ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  ผู้อำนวยการกลุ่มทุกกลุ่มต้องประเมินสมรรถนะทางการบริหาร  จำนวน 6 สมรรถนะ  ประกอบด้วย สภาวะผู้นำ  วิสัยทัศน์  การวางกลยุทธ์ภาครัฐ  ศักยภาพเพื่อนำการปรับเปลี่ยน การควบคุมตนเอง และการสอนงานและการมอบหมายงาน
            3.กำหนดให้แต่ละตำแหน่งประเมินสมรรถนะสมรรถนะประจำสายงาน ดังนี้
               3.1 ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  นักทรัพยากรบุคคล นักวิชาการศึกษา นักวิเคราะห์นโยบายและแผน  ประเมินสมรรถนะการคิดวิเคราะห์  การมองภาพองค์รวม  และการดำเนินการเชิงรุก
              3.2 ตำแหน่งนิติกร ประเมินสมรรถนะ การคิดวิเคราะห์  การสืบเสาะหาข้อมูล และการตรวจสอบความถูกต้องตามกระบวนงาน
              3.3 ตำแหน่งประชาสัมพันธ์  ประเมินสมรรถนะ การคิดวิเคราะห์ การดำเนินการเชิงรุก และศิลปะการสื่อสารจูงใจ
              3.4 ตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบภายในนักวิชาการเงินและบัญชี นักวิชาการพัสดุ และนักจัดการงานทั่วไป  ประเมินสมรรถนะ การคิดวิเคราะห์ การตรวจสอบความถูกต้องของตามกระบวนงาน  และความยืดหยุ่นผ่อนปรน
            4.กำหนดให้ทุกตำแหน่งประเมินสมรรถนะด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ จำนวน 5 ด้าน ประกอบด้วย การมีวินัย  การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ความรักศรัทธาในวิชาชีพ และความรับผิดชอบในวิชาชีพ